วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูล (Data communication)
                หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสาร จากผู้ส่งต้นทางไปยังผู้รับปลายทางที่อยู่ห่างไกล โดยผ่านช่องทางการสื่อสารเพื่อเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นแบบใช้สาย หรือไม่ใช้สายก็ได้ ส่วนข้อมูลหรือข่าวสารนั้นอาจจะเป็นข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดียก็ได้ ดังนั้นการสื่อสารข้อมูลจึงเป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเน้นการส่งผ่านข้อมูล โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเป็นหลัก (สุมน อยู่สิน. 2527 : 8) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อถึงกันโดยใช้สายเคเบิ้ลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนชุดข้อมูล ชุดคำสั่ง และข่าวสารต่าง ๆ ระหว่างคอมพิวเตอร์ กับ คอมพิวเตอร์และระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่าง ๆ การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย จึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม (จตุชัย แพงจันทร์. 2547 : 6) องค์ประกอบของการสื่อสาร ปี 1960 แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล ( Berlo) ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ คือ 1. ผู้ส่งสาร (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเข้ารหัส(Encode) เนื้อหาข่าวสาร ได้มีความรู้อย่างดีในข้อมูลที่จะส่งสามารถปรับระดับให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับ 2. ข่าวสาร (Message) คือเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่ง 3. ช่องทางการสื่อสาร(Channel) ให้ผู้รับได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 4. ผู้รับสาร (Receiver) ผู้ที่มีความมารถในการถอดรหัส ( Decode) สารที่รับมา ได้อย่างถูกต้อง แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล จะให้ความสำคัญในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผู้รับละผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ (ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. 2540) การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อความของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร ช่องทางการส่งข้อมูลซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลางอาจเป็นสายสัญญาณ และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร ดังนั้น เทคโนโลยีในการสื่อสาร คือ การเอาแนวคิด หลักการ เทคนิค ระเบียบวิธี กระบวนการ ผ่านช่องทางการส่งข้อมูล ซึ่งทำให้ผู้รับ ได้รับและเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารที่พบเห็น เช่น E-mail, Voice Mail, Video Conferencing เป็นต้น ชนิดของสัญญาณข้อมูล ชนิดของสัญญาณแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ 1.Analog signalเป็นสัญญาณต่อเนื่อง ลักษณะของคลื่นไซน์ sine wave ตัวอย่างการส่งข้อมูลที่เป็น analog คือการส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์ Hertz คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณ โดยนับความถี่ที่เกิดขึ้นใน 1 วินาที เช่น 1 วินาทีมีการเปลี่ยนแปลงของระดับสัญญาณ 60 รอบแสดงว่ามีความถี่ 60 Hz 2.Digital สัญญาณไม่ต่อเนื่อง ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเลขฐาน 2 จะถูกแทนด้วยสัญญาณ digital คือเป็น 0 และ 1 โดยการแทนข้อมูลสัญญาณแบบ Unipolar จะแทน 0 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นกลาง และ 1 ด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นบวก Bit rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูล โดยนับจำนวน bit ที่ส่งได้ในช่วง 1 วินาที เช่น ส่งข้อมูลได้ 14,400 bps (bit per seconds) ทิศทางการส่งข้อมูล ทิศทางการส่งข้อมูล สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ (ศรีไพร ศักดิ์พงศากุล และ เจษฎาพร ยุทธวิบูลย์ชัย. 2549 : 100-101) 1. การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูลก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวเช่นกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้เช่น การส่งข้อมูลของสถานีโทรทัศน์ 2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งข้อมูลได้ แต่จะต้องสลับกันทำหน้าที่ จะเป็นผู้ส่งและผู้รับข้อมูลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ เช่น การสื่อสารโดยวิทยุ 3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-duplex transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม กัน เช่น การสื่อสารโดยใช้สายโทรศัพท์ ตัวอย่างทิศทางการไหลของข้อมูล ตัวกลางการสื่อสาร สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ (จตุชัย แพงจันทร์. 2547: 10-11)สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่ 1. สื่อกลางประเภทมีสาย 2. สื่อกลางประเภทไร้สาย 1.1สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดงที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 2 เส้นพันบิดเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากคู่สายข้างเคียงภายในเคเบิลเดียวกันหรือจากภายนอก เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนี้ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าความถี่สูงผ่านได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายคู่บิดเกลียวจะขึ้นอยู่กับความหนาของสาย คือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราส่งสูง โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ถึงร้อยเมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร เนื่องจากสายคู่บิดเกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี จึงมีการใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น (ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถักชั้นนอกที่หนาอีกชั้นเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นทำให้สะดวกในการโค้งงอแต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก แต่ก็มีราคาต่ำกว่า จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ในเครือข่าย ตัวอย่างของสายสายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนที่เห็นในชีวิตประจำวันคือ สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ในบ้าน 1.2 สายโคแอกเชียล (coaxial) เป็นตัวกลางเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ต่อจากเสาอากาศ สายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปมี 2 ชนิด คือ 50 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทัล และชนิด 75 โอห์มซึ่งใช้ส่งข้อมูลสัญญาณแอนะล็อก สายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสัญญาณรบกวนอื่นๆ ก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก ลวดทองแดงที่ถักเป็นเปียนี้เองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่สัญญาณไฟฟ้าสามารถผ่านได้สูงมาก และนิยมใช้เป็นช่องสื่อสารสัญญาณแอนะล็อกเชื่องโยงผ่านใต้ทะเลและใต้ดิน 1.3 เส้นใยนำแสง (fiber optic) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็ดเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมากและไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเทอร์เน็ตจะใช้ได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิต และเนื่องจากความสามรถในการส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นสูง ทำให้สามารถส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพกราฟิก หรือวีดิทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยในการส่งสูง แต่อย่างไรก็มีข้อเสียเนื่องจากการบิดงอสายสัญญาณจะทำให้เส้นใยหัก จึงไม่สามารถใช้สื่อกลางนี้ในการเดินทางตามมุมตึกได้ เส้นใยนำแสงมีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้กับการเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคารหรือระหว่างเมืองกับเมือง เส้นใยนำแสงจึงถูกนำไปใช้เป็นสายแกนหลัก 2.1 สัญญาณไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศพร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และจะต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวหรือโค้งตามขอบโลกที่มีความโค้งได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับ-ส่งข้อมูลเป็นระยะๆ และส่งข้อมูลต่อกันเป็นทอดๆ ระหว่างสถานีต่อสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทาง และแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ในที่สูงเช่นดาดฟ้าตึกสูงหรือยอดดอยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนหากมีสิ่งกีดขวางเนื่องจากแนวการเดินทางที่เป็นเส้นตรงของสัญญาณดังที่กล่าวมาแล้ว การส่งข้อมูลด้วยสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมากๆ และทุรกันดาร 2.2 ดาวเทียม (satilite) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับ-ส่งไมโครเวฟบนผิวโลก วัตถุประสงค์ในการสร้างดาวเทียมเพื่อเป็นสถานีรับ-ส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศและทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลก ในการส่งสัญญาณดาวเทียมจะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลก 22,300 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก จึงเสมือนกับดาวเทียมนั้นอยู่นิ่งอยู่กับที่ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้การส่งสัญญาณไมโครเวฟจากสถานีหนึ่งขึ้นไปบนดาวเทียมและการกระจายสัญญาณจากดาวเทียมลงมายังสถานีตามจุดต่างๆ บนผิวโลกเป็นไปอย่างแม่นยำ ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้โดยอาศัยพลังงานที่ได้มาจากการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตยด้วยแผงโซลาร์ (solar panel) มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols) ด้วยความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายได้ส่งผลให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น พีดีเอ โทรศัพท์มือถือ ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมมีความต้องการมาตรฐานเพื่อการสื่อสารไร้สาย ในทีนี้กล่าวถึงการสื่อสารไร้สายดังนี้ (ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. 2549 : 106-108) บลูทูธ (Bluetooth) บลูทธเป็นชื่อที่เรียกสำหรับมาตรฐานเรือข่ายแบบ 802.15 บลูทูธเป้นเทคโนโลยีไร้สายที่ใช้การส่งข้อมูลทางคลื่นวิทยุ (Universal Radio Interface) เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1998 สำหรับการเชื่อมโยงสื่อสารไร้สายในแถบความถี่ 2.45 GHz ซึ่งเป็นอุปการณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถือเคลื่อนย้ายได้ สามารถติดต่อเชื่อมโยงสื่อสารแบบไร้สายระหว่างกันในช่วงระยะห่างสั้น ๆ ได้ ไว-ไฟ (Wi-Fi) ไว-ไฟ ย่อมาจากคำว่า Wireless Fidelity คือมาตรฐานที่รับรองว่าอุปกาณ์ไวร์เลว (Wireless LAN) สามารถทำงานร่วมกันได้ และสนับสนุนมาตรฐาน IEEE802.11b ไว-ไฟ เป็นเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงที่นิยมใช้ที่สุดในโลก ใช้สัญญาณวิทยุในการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านเครือข่ายไร้สายจากบริเวณที่มีการติดตั้ง Access Point ไปยังอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อ เช่นโทรศัพท์มือถือ พีดีเอ และโนตบุคเป็นต้น ไว- แมกซ์ (Wi-MAX) เป็นชื่อเรียกเทคโนโลยีไร้สายรุ่นใหม่ล่าสุดที่คาดหมายกันว่าจะถูกนำมาใช้งานที่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในอนาคตอันใกล้นี้ (ตอนนี้มีแอบทดสอบ WiMAX กันหลายที่ในต่างจังหวัดแล้ว เช่น ที่เชียงใหม่) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูงรุ่นใหม่ตัวนี้ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาบนมาตรฐานที่เรียกเป็นทางการว่า IEEE 802.16 ซึ่งต่อมาก็ได้พัฒนามาตรฐาน IEEE 802.16a (เหมือนกับมาตรฐานสากลตัวแรก แต่มี a ต่อท้าย) ขึ้น โดยได้อนุมัติโดย IEEE มาเมื่อเดือนมกราคม 2004 ซึ่ง IEEE ที่ว่า ก็คือสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือชื่อเต็มๆก็คือ Institute of Electrical and Electronics Engineers โดยเจ้าระบบ WiMAX นี้มีซึ่งมีรัศมีทำการไกลสูงสุดที่ 30 ไมล์ หรือเป็นระยะทางประมาณ 48 กิโลเมตร (คนล่ะโลกกับ WiFi ที่เรารู้จักกันเลยทีเดียว) ซึ่งนั่นหมายความว่า WiMAX สามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่กว้างกว่าระบบโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G (ซึ่งก็เป็นระบบมือถือในอนาคตของประเทศไทยเราอีกนั้นแหละ เพียงแต่ตอนนี้เราใช้ 2.5G กันอยู่) มากถึง 10 เท่า ยิ่งกว่านั้นก็ยังมีอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดถึง 75 เมกะบิตต่อวินาที (Mbps) ซึ่งเร็วกว่า 3G ถึง 30 เท่าทีเดียว และแน่นอนว่าเร็วกว่าระบบ WiFi ด้วย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปการที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผล, หน่วยความจำ, หน่วยจัดเก็บข้อมูล, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้ องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้ - คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2 เครื่อง - เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย - สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น สายสัญญาณ สายสัญญาณที่เป็นที่นิยมในเครือข่าย เช่น สายโคแอ็กเชียล สายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตซ์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น - โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้ “ภาษา” หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น - ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะเป็นตัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน หรือเป็นตัวจัดการและควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม เช่น Windows Server 2003, Novell NetWare, Sun Solaris และ Red Hat Linux เป็นต้น โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Topology) การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเพื่อประโยชน์ของการสื่อสารนั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะการเชื่อมต่อได้ดังนี้ 1. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาวต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยมีตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ลในการส่งข้อมูลจะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียว เท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้มีวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานี ส่งข้อมูล พร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน การติดตั้งเครือข่ายแบบนี้ทำได้ไม่ยาก เพราะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แต่ละชนิดถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียว โดยส่วนใหญ่เครือข่ายแบบบัสมักจะใช้ในเครือข่าย ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในองค์กรที่มีเครื่อง คอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก ข้อดี ประหยัดสายสัญญาณ เครื่องหนึ่งเสียก็ไม่กระทบกับเครือข่าย ข้อเสีย อาจเกิดการชนกันของ ข้อมูลได้ ต้องมีการส่งใหม่ ถ้าสายหลักเสีย เครือข่ายล่ม 2. เครือข่ายแบบดาว (Star Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เข้ากับอุปกรณ์ที่เป็นจุดศูนย์กลางของเครือข่าย โดยการ นำสถานีต่าง ๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการ ติดต่อผ่านทางวงจรของ หน่วยสลับสายกลางการทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงเป็นศูนย์กลาง ของการ ติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน ข้อดี ติดตั้งและดูแลง่าย ถ้าเครื่องลูกข่ายเสียก็ตรวจสอบได้ง่าย เครื่องอื่นยังติดต่อกันได้ ข้อเสีย ถ้าฮับเสีย เครือข่ายล่ม ใช้สัญญาณมากกว่าแบบอื่น 3. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อเครื่อง คอมพิวเตอร์ด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียวในลักษณะวงแหวน การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายวงแหวนจะใช้ทิศทางเดียวเท่านั้นเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูล จะส่งไป ยังคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปถ้าข้อมูลที่รับมาไม่ตรงตามที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางระบุ จะส่งผ่านไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปซึ่งจะเป็นขั้นตอนอย่างนี้ไป เรื่อย ๆ จนกว่าจะถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ ปลายทางที่ถูกระบุตามที่อยู่จากเครื่องต้นทาง ข้อดี ส่งข้อมูลไปยังผู้รับหลายเครื่อง ๆ พร้อมกันได้ ไม่เกิดการชนกันของข้อมูล ข้อเสีย ถ้าเครื่องใดมีปัญหา เครือข่ายล่มการติดตั้งทำได้ยาก และใช้สายสัญญาณมากกว่าแบบบัส 4. เครือข่ายแบบตาข่าย (Mesh Network) โครงสร้างแบบเมชมีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีช่อง ส่งสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง โครงสร้างนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้อิสระไม่ต้องรอ การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน ข้อดี – การสื่อสารข้อมูลเร็ว เพราะคอมพิวเตอร์แต่ละคู่สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องรอ เส้นทางการเชื่อมต่อใดๆ ขาด ไม่มีผลต่อการสื่อสารของเครื่องอื่นๆ ข้อเสีย – สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย จากจำนวนสายสัญญาณและช่องต่อสาย ตามจำนวนเครื่องในระบบ 5. เครือข่ายแบบผสม (Hybrid Network) เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโครงสร้าง เครือข่ายแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพียง เครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อม ต่อเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียว การประยุกต์ใช้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครือข่ายขนาดเล็ก ที่มีจำนวนเครื่องจำกัด หรืออยู่ในบริเวณไม่กว้าง มักเลือกใช้โทโพโลยีอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นกับวัตถุประสงค์ อุปกรณ์ที่มี และสภาพพื้นที่ เช่น การต่อภายในห้อง อาจจะใช้แบบดาว การต่อระหว่างหลายๆ อาคาร อาจเป็นแบบบัส แต่เมื่อมีการขยายขนาดเครือข่ายให้ใหญ่ขึ้น อาจจะเป็นการต่อหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน ลักษณะของโทโพโลยีโดยรวม คือการเชื่อมต่อหลายๆ โทโพโลยีเข้าด้วยกัน ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 1.เซิร์ฟเวอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ โดยเครือข่ายต่าง ๆ สามารถมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์กี่เครื่องก็ได้ตามต้องการ ชนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บไฟล์ จะเสมือนฮาร์ดดิสก์รวมศูนย์ (Centerized disk storage) เสมือนว่าผู้ใช้งานทุกคนมีที่เก็บข้อมูลอยู่ที่เดียว เพราะควบคุม-บริหารง่าย การสำรองข้อมูลโดยการ Restore ง่าย พรินต์เซิร์ฟเวอร์ Print Server หนึ่งเหตุผลที่จะต้องมี Print Server ก็คือ เพื่อแบ่งให้พรินเตอร์ราคาแพงบางรุ่นที่ออกแบบมาใช้สำหรับการทำงานมาก ๆ เช่น HP Laser 5000 พิมพ์ได้ถึง 10 – 24 แผ่นต่อนาที พรินเตอร์สำหรับประเภทนี้ ความสามารถในการทำงานที่จะสูง แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ (Application Server) Application Server คือ เซิร์ฟเวอร์ที่รันโปรแกรมประยุกต์ได้ โดยการทำงานสอดคล้องกับไคลเอ็นต์ เช่น Mail Server ( รัน MS Exchange Server ) Proxy Server (รัน Proxy Server) หรือ Web Server (รัน Web Server Program เช่น Xitami , Apache’ ) อินเตอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server) ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตนั้น มีผลกระทบกับเครือข่ายในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่มากและมีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก เทคโนโลยีที่ทำให้อินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมก็คือ เว็บ และอีเมล เพราะทั้งสองแอพพลิเคชันทำให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารกันได้ง่ายและมีรวดเร็ว เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) คือ เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการข้อมูลในรูปแบบ HTML (Hyper text Markup Language) เมลเซิร์ฟเวอร์ (Mail Server) คือ เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการรับ – ส่ง จัดเก็บ และจัดการเกี่ยวกับอีเมลของผู้ใช้ 2. เวิร์กสเตชั่น (Workstation) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไปที่สามารถทำการประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ได้ 3. ไคลเอนต์ (Client) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเรียกใช้ข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ 4. เทอร์มินัล (Terminal) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยจอภาพ แป้นพิมพ์ และอื่น ๆ เทอร์มินัลไม่สารถประมวลผลข้อมูลได้ด้วยตัวเองแต่ใช้การสื่อสารข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลพร้อมทั้งแสดงผลที่จอเทอร์มินอล รูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computing Architecture) การประมวลผลข้อมูลที่ส่วนกลาง (Centrallized Processing) เป็นการประมวลผลข้อมูลที่เซิร์ฟเวอร์ เครื่องลูกข่ายคอมพิวเตอร์จะเป็นเทอร์มินัลไม่สามารถประมวลผลได้เอง การประมวลผลแบบนี้ เซิร์ฟเวอร์จะต้องเป็นเครื่องที่ประมวลผลได้ เซิร์ฟเวอร์ต้องเป็นเครื่องที่มีความเร็วสูง สามารถประมวลผลข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก การประมวลผลข้อมูลแบบไคลเอนต์/เซิร์ฟเวอร์ เป็นรูปแบบหนึ่งของเครือข่ายแบบ server-based โดยจะมีคอมพิวเตอร์หลักเครื่องหนึ่งเป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะไม่ได้ทำหน้าที่ประมวลผลทั้งหมดให้เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนต์ (client) เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่เก็บข้อมูลระยะไกล (remote disk) และประมวลผลบางอย่างให้กับไคลเอนต์เท่านั้น เช่น ประมวลผลคำสั่งในการดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล (database server) เป็นต้น ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกตามระยะทางของการเชื่อมต่อระหว่างการสื่อสารได้เป็น 4ประเภทดังนี้ 1. แพน (PAN) หรือเครือข่ายส่วนบุคคล เป็นเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและบริการตลอดจนการใช้ งานอุปกรณ์ร่วมกัน 2. ระบบแวน (wide area networks : WAN) ระบบเครือข่ายบริเวณกว้างที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่าง ไกลกันข้ามจังหวัดหรือประเทศ ดังนั้น จึงต้องใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพสูงในระดับประเทศ เช่น ขององค์การ โทรศัพท์แห่งประเทศไทย สำหรับตัวกลางอาจเป็นคู่สายโทรศัพท์ธรรมดา สายเช่าวงจรไมโครเวฟ เส้นใยแก้วนำแสง สายเคเบิล แบบโคแอกเชียล หรือใช้ระบบ ดาวเทียมก็ได้ โดยพื้นฐานแล้ว ระบบเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นระบบเครือข่ายสื่อสาร ที่สามารถใช้ส่ง สัญญาณ เสียง ภาพ และข้อมูลข้ามอาณาบริเวณไกล ๆ ได้ 2. ระบบแมน (17etropolitan area network : MAN) ระบบเครือข่ายบริเวณมหานครเป็นระบบ ที่เชื่อม โยงคอมพิวเตอร์ซึ่ง อาจตั้งอยู่ห่างไกลกันในช่วง 5 ถึง 50 กิโลเมตร ปกติมักใช้สำหรับสื่อสารข้อมูล เสียง และภาพ ผ่านสาย โคแอกเชียลหรือเส้นใยแก้วนำแสง ผู้ใช้ระบบแมนมักเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่จำเป็น จะต้องติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่าน ระบบ คอมพิวเตอร์ด้วยความเร็วสูงมาก โดยที่การสื่อสารนั้นจำกัดภายในบริเวณเมือง หรือมหานคร 4. ระบบแลน (local area networks : LAN) เป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณที่เชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ ที่ติดตั้งภายในตัวอาคารหลังเดียว หรือที่อยู่ในละแวกเดียวกัน การเชื่อมโยงมักใช้ตัวกลางสื่อสารของตัวเอง เป็นระบบที่เจ้าของ ควบคุมการปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์แบบด้วย ในระบบเครือข่ายทั้งสามระบบนี้ระบบ LAN ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดทั้งในภาครัฐและเอกชนเพราะเทคโนโลยีระบบ LAN มีราคาไม่สูงมากอีกทั้ง คอมพิวเตอร์ที่ต่อกับระบบเครือข่ายนี้ก็เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีราคาถูก ละหน่วยงานต่าง ๆ มีใช้อยู่แล้วหลายเครื่อง การลงทุนซื้ออุปกรณ์สำหรับเครือข่าย LAN มาติดตั้งจึงกระทำได้ง่ายที่สำคัญคือระบบ LAN หลายระบบสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ทั้งมินิคอมพิวเตอร์และระดับเมนเฟรมได้ แต่แท้ที่จริงแล้วระบบ LAN ก็คือ เครือข่ายขนาดเล็กใช้เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบริเวณสำนักงานที่อยู่อาคารเดียวกันหรือบริเวณเดียวกันเท่านั้น

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

Windows Phone ออกแบบมาให้สามารถใช้ได้กับ Smartphone ในขนาดทั่ว ๆ ไป รวมทั้ง Tablets โดยในมือถือหรือ Smartphone ที่ได้ถูกติดตั้งในปัจจุบันจะเป็นของ Nokia เช่น รุ่น Lumia (มียอดขายกว่า 4 ล้านเครื่อง) และคาดว่าในอนาคตเร็ว ๆ นี้จะได้ใช้กับอุปกรณ์หลาย ๆ รุ่น Windows Phone Metro UI Interface และไม่อีกกี่เดือนข้างหน้า Microsoft จะออก Windows Phone เวอร์ชั่น 8 พร้อมกับปล่อย SDK มาเพื่อให้นักพัฒนาทั้งหลาย ได้ดาวน์โหลดมาทดลองกัน และ Windows Phone 8 มีการใช้ Core บางตัวมาจาก Windows 8 ที่อยู่บน PC Desktop เพราะฉะนั้นในบาง Application สามารถนำจาก Application ที่อยู่บน Windows 8 มาใช้กับ Windows Phone 8 โดยอาจจะเปลี่ยนโครงสร้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น Windows Phone Smartphone ที่ติดตั้ง Windows Phone Windows Phone Brand ทีจะออกรุ่น Smartphone ที่ถูกติดตั้ง Windows Phone บน CPU ในรุ่น Qualcomm การพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone นั้นถือว่ายังมีน้อยมาก ถ้าเปรียบเทียบกับ Android สาเหตุส่วนหนึ่งคือ ในระบบ Windows เอง ไม่ใช่ Open Source จึงทำให้ค่ายโทรศัพท์มือถือต่าง ๆ จะเลือกนิยมใช้ Android ที่เป็นของฟรี กันเป็นส่วนมาก และเมื่อมีผู้ใช้น้อย นักเขียนโปรแกรมก็จะน้อยเช่นเดียวกัน สังเกตุได้จาก การค้นหาข้อมูลบน Google แทบจะหายาก หรือ ไม่มี และ Application ที่มีให้เลือกใช้ก็ยังน้อยเช่นเดียวกัน การพัฒนาหรือเขียนโปรแกรมสำหรับ Windows Phone 7 และ 8 นั้น จะง่ายกกว่าการเขียนบน Android หรือ iOS เพราะถ้าเคยเขียนพวก VB / VB.NET หรือ C# มาแล้วก็จะสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว พื้นฐานแล้ว Windows Phone พัฒนาด้วย .NET Framework กับ Silverlight ใช้ XAML เป็น UI ในการสร้าง Interface บนหน้าจอ และมี Code Behind ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของ Interface อีกที ปัจจุบันสามารถเขียนได้ 2 ภาษาคือ VB.NET และ C# และ Tools ที่จะสารองรับการเขียนคือ Visual Studio 2010 โดยถ้าจะเขียนแค่ติดตั้ง Visual Studio 2010 และ Windows Phone SDK เท่านั้นก็จะสามารถเขียนได้ทันที Windows Phone Visual Studio 2010 สำหรับเขียนโปรแกรมบน Windows Phone Windows Phone Emulator ที่อยู่บน Windows Phone SDK ตามที่ได้เกรนไว้ในย่อหน้าแรก ๆ คือ Windows Phone ยังถือว่าใหม่สำหรับเมืองไทยในด้านของการพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone แต่ปัจจุบัน Microsoft ได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนา Windows Phone เป็นอย่างมาก และมีโอากาสที่ Windows Phone จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Application ที่อาจจะได้รับความนิยมในอนาคตเป็นได้ ส่วนหนึ่งก็คือ คนส่วนมากจะใช้ Windows OS ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และ Interface ของ Application บางตัวใน Windows Phone เราก็คุ้นเคยดี รวมทั้ง Application อื่น ๆ ที่อาจจะรองรับต่อการทำงานบน Windows ได้ดีกว่า iOS หรือ Android เช่นพวก Document ที่เป็น Microsoft Office ต่าง ๆ และโดยพื้นฐานเอง Micorsoft ก็มีนักพัฒนา Windows อยู่ทั่วโลกมากมาย การเขียนโปรแกรมก็สามารถเรียบรู้และเข้าใจได้โดยไม่ยาก สำหรับนักพัฒนาโปรแกรมสนใจที่จะหันมาพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมบน Smarphone อื่น ๆ ก็สามารถที่จะเขียนแอพบน Windows Phone ได้ เพราะแค่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมพวก ASP, VB, VB.NET หรือ C# และก็พื้นฐาน XML นิดหน่อยก็สามารถต่อยอดได้อย่างไม่ยาก และบนเว็บของ Microsoft เองก็มี Windows Phone Dev Center เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมบน Windows Phone ทั้งหมด เช่น SDK Package หรือ Document และตัวอย่าง Application ไว้สำหรับศึกษาอีกมากมาย เเหล่งที่มา: http://www.thaicreate.com/mobile/windows-phone-os.html

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำหลักเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งเราก็เรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก ( Primary Storage ) หน่วยความจำหลักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ หน่วยความจำแบบอ่านอย่างเดียว หรือที่เรียกว่า รอม ( ROM ) คือ หน่วยความจำที่เก็บชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่ สำคัญๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยคำสั่งเหล่านี้จะเก็บไว้ในในชิป ชื่อ ROM BIOS ( Basic Input/Output System ) เนื่อง จากรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลได้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ถึงแม้ว่าเราจะปิดเครื่องแล้วเมื่อเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่ เหมือนเดิมไม่มีการสูญหาย แต่ข้อเสียของรอมคือไม่สามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งได้ในภายหลัง และมีความเร็วในการทำงานช้ากว่าหน่วยความจำแบบแรม · หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ หรือที่เรียกว่า แรม ( Ram ) หมาย ถึงหน่วยความจำความเร็วสูงซึ่งเป็นที่เก็บโปรแกรมและข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีหน่วยความจำนี้โปรเซสเซอร์จะทำงานไม่ได้ เนื่องจากว่าหน่วยความจำแรมเป็นที่เก็บข้อมูลทุกอย่างที่โปรเซสเซอร์ใช้ใน ขณะกำลังทำงาน เพราะอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลอื่น จะมีความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลช้ามาก ขณะที่ซีพียูทำงานจึงต้องทำงานกับหน่วยความจำแรมที่มีความเร็วสูง ถ้าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจำมากก็สามารถทำงานได้เร็วขึ้น เพราะว่ามีเนื้อที่สำหรับเก็บคำสั่งโปรแกรมต่างๆ ได้ทั้งหมด โดยที่ไม่จำเป็นต้องเรียกคำสั่งที่ใช้มาจากหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ซึ่งจะทำให้การทำงานช้าลงอย่างมาก เเหล่งที่มา: www.kingsolder.com

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้นฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย หน่วยรับข้อมูล ( input unit ) หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU หน่วยความจำหลัก หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit ) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit ) หน่วยรับข้อมูลจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆเข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้นหน่วยประมวลผลกลางจะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทางหน่วยแสดงผลลัพธ์ หน่วย ความจำหลักจะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนักการที่ ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้นขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือหากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความ จำหลักจะหายไปในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่หน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะไม่สูญหายตราบ เท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้นรวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุ ที่สูงมากจึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลังข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก บุคลากร (Peopleware) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงานเรียกบุคลากรเหล่านี้ว่าผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่ง ได้เป็นหลายระดับเพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของ คอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูง ขึ้นทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่าเพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมาย ถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ทั้งในระดับกลางและระดับสูงผู้ เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งานและ ประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีกนักเขียน โปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ๆ ได้และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้ การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่นการบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวลหรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่นเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่นเจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์เช่นเจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่นผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information) ใน การทำงานต่าง ๆจะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวม มาประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ซึ้งในปัจจุบันมีการ นำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดย แตกต่างๆระหว่างข้อมูลและสารสนเทศคือ ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่สารสนเทศคือได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจโดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง มีความสัมพันธ์กัน (relevant) สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน มีความทันสมัย (timely) ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate) เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน มีความกระชับรัดกุม (concise) ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete) ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน ซอฟต์แวร์ (Software) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆเนื่องจากต้องมีซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการโดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆขึ้นมา ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software ) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software ) ซอฟต์แวร์ ระบบโดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบ เป็นส่วนควบคุมทำงานต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไปส่วนซอฟต์แวร์ประยุกต์จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการ ช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เเหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/xngkhkhxngkhxmphiwtexr/xngkh-prakxb-khxng-rabb-khxmphiwtexr

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้ 1. หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว 2. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป 3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ (Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น ที่มา : http://support.euro.dell.com/support/edocs/ acc/hk395/th/intro.htm 4. หน่วยความจำ (Memory Unit) หน่วยความจำ (Memory Unit) มีหน้าที่ในการจำข้อมูล ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ มีอยู่ 2 ชนิดคือ หน่วยความถาวร (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้ตลอดเวลา ส่วนหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งคือ หน่วยความจำชั่วคราว (RAM : Random Access Memory) หน่วยความจำประเภทนี้ จะจำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มี การเปิดไฟเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น หน่วยความจำชั่วคราว ถือว่าเป็นหน่วยความจำหลักภายในเครื่อง สามารถซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ เรียกกันทั่วไปคือหน่วยความจำแรม ที่ใช้ในปัจจุบันคือ แรมแบบ SDRAM , RDRAM เป็นต้น (RAM : Random Access Memory) (ROM : Read Only Memory) ที่มา : http://blogger.sanook.com/mk_melody/2008/12 5. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) หน่วยความจำสำรองคืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาส ต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น แหล่งข้อมูล : http://www.thaiwbi.com/course/Intro_com/Intro_com/wbi1/hie/page41.htm

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ Super Computer, Mini Computer, Micro Computer, Notebook, Tablet,Smart Phone

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีราคาแพงที่สุดรวมทั้งต้องอยู่ทีห้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิ และปราศจากฝุ่นละอองทำให้ต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้นจึงสามารถจัดหาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้จำนวนหลาย ๆ คน นำมาใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อนเช่นการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้นรวมทั้งพบมากในวงการวิจัยในห้องปฎิบัติการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ 1960 ที่องค์กรของสหรัฐอเมริกาโดยได้รับการออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ความเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุดซูเปอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการใช้หลักทีเรียกว่ามัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อัน เป็นใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัวเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงาน พร้อมกันโดยที่งานเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน งานที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออาจจะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปในประมวล ผลแต่ละตัวก็ทำงานได้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลกลางทั้งหมด 4 ตัวแต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความพัฒนามากจึงทำให้มีหน่วยประมวลผลนับร้อยตัวทำงานพร้อมๆ กัน ความเร็วของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็นนาโนวินาที (nanosecond) หรือเศษหนึ่งพันล้านวินาที และจิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาทีซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้ถึง 128 จิกะฟลอป และใช้เครื่องที่มี สายส่งข้อมูล (data bus) กว้าง 32 หรือ 64 บิต จากคุณสมบัติของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าผู้ใช้ควรนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณมากๆ เช่น งานด้านกราฟฟิกหรือการคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) 2.มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ 1960 ต่อมาจากบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ประกาศตัวมินิคอมพิวเตอร์ DEC POP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ 1965 ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลางเพราะ มีราคาถูกกว่าเมนเฟรมมากเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการของมัลติโปรแกรม มิงเช่นเดียวกับเมนเฟรมโดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้ประมาณ 200 คนพร้อม ๆ กันแต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ก็คือความเร็วในการทำงาน เนื่องจากเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่าการควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆการะทำได้ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้สื่อที่เก็บข้อมูลต่าง ๆมีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรมดังนั้นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จึงจัดได้ว่ามินิคอมพิวเตอร์เป็นขนาดกลาง 3.เวิร์คสเตชัน (Workstation) และไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) ใน การทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับ ข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้นไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้นจะทำให้ผู้ใช้สามารถ ควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ ได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองนอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้เองโดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการ เรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียวสามารถแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ เวิร์คสเตชั่นถูกออก แบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่มีความสามารถในการคำนวนด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง ๆ เช่นการนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟฟิกในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วนใหม่ ๆ เป็นต้นซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูงทำให้เวิร์คสเต ชั่นใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมากรวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จำนวนมากด้วยมีผู้ใช้บางกลุ่มเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชั่นนี้ว่าซูเปอร์ ไมโคร (supermicro) เพราะออกแบบมาให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะแต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจาก เวิร์คสเตชั่นส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นเพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 และได้รับความนิยมอย่างเมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจะมี 2 ชนิดคือ Apple Macintosh และ IBM PC ใน ปัจจุบันความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างเครื่องเวิร์คสเตชั่นและเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์เริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพของเครื่องและ ความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเครื่องเวิร์คสเตชั่นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีคอมพิวเตอร์แบบผู้ใช้คนเดียวที่ได้รับการออกแบบให้สามารถพกพาติดตัวได้สะดวก เช่นคอมพิวเตอร์โน้ตบุค (Notebool computer) คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop computer) และ PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จัดได้ว่าเป็นเครืองไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งขนากเล็กน้ำหนักเบา และมีรูปลักษณ์ที่เหมาะกับการพกพา เเหล่งที่มา:https://sites.google.com/site/xngkhkhxngkhxmphiwtexr/prapheth-khxng-kheruxng-khxmphiwtexr/weirkh-s-te-chan-workstation-laea-mikhor-khxmphiwtexr-micro-computer 4.Notebook เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาด เล็ก หรือขนาดพกพา หรือในบางครั้งเรียกว่าขนาดสมุดโน้ต เพราะสามารถพกพาติดตัวไปที่ต่าง ๆ ได้สะดวก ใช้ได้ทั้งกับไฟบ้านและแบตเตอรีคะ มีน้ำหนักประมาณ 1.5 - 3 กิโลกรัม จอภาพแสดงผลเป็นแบบราบชนิดมีทั้งแบบแสดงผลสีเดียว หรือแบบหลายสี โน้ตบุ๊คที่มีขายทั่วไปมีประสิทธิภาพและความสามารถเหมือนกับแล็ปท็อปนะคะ ปัจจุบันคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กกำลังได้รับความนิยมมาก เนื่องจากราคาที่ถูกลงกว่าในอดีต 5.Tablet หลายๆคนพอพูดถึง "แท็บเล็ต - Tablet" แล้วอาจจะงงว่ามันคืออะไร ?? แต่ถ้าพูดว่า iPad, Samsung Galaxy Tab แล้วล่ะก็ต้องร้อง อ๋อ กันแน่นอนซึ่ง iPad และ Samsung Galaxy Tab นั้นจริงๆแล้วเป็นเพียงแค่ชื่อรุ่นเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วตัวเครื่องเหล่านี้จะเรียกกันว่า "แท็บเล็ต - Tablet" "แท็บ เล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการ เขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลาย บริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer) "แท็บ เล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet personal computer)" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงาน เป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมันเอง" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากหลังจากทาง Microsoft ได้ทำการเปิดตัว Microsoft Tablet PC ในปี 2001 แต่หลังจากนั้นก็เงียบหายไปและไม่เป็นที่นิยมมากนัก "แท็บ เล็ต พีซี - Tablet PC" ไม่เหมือนกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือ Laptops ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน (มีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์) "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC" ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือ ข่ายภายใน ภาพ HP Compaq tablet PC ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer หรือ แท็บเล็ต - Tablet "แท็บ เล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet" คือ "เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ขนาดกลางและใช้หน้าจอ สัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุน หรือแบบสไลด์ก็ตาม" เเหล่งที่มา:http://www.tabletd.com/articles/289 6.Smart Phone smartphone คืออะไร smartphone คืออะไร smartphone คืออะไร smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และคอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์ เช่น iOS (ที่ลงในมือถือรุ่น Iphone) ,BlackBerry OS, Android OSWindows phone 7 และ Symbian Os (Nokia) เป็นต้น ซึ่งทำให้ สมาร์ทโฟน สามารถลงโปแกรมเพิ่มเติม (Application) ได้ คุณสมบัติของสมาร์ทโฟน 1.การ เชื่อมต่ออุปกรณ์ไร้สาย นี่เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่จะทำให้ smart-Phone เช่น นั่นคือการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ PDA โทรศัพท์เครื่องอื่น พริ้นเตอร์ หรือกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟราเรด บลูทูธ หรือ Wi-Fi 2.สามารถ รองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่นไฟล์ ภาพ,ภาพเคลื่อนไหว เช่นภาพเคลื่อนไหวสกุล .gif เสียง ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ Wave, MP3, Midi ต่อไปเป็นไฟล์วิดีโอ ซึ่งจะสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่นสกุล .3gp .mp4 เป็นต้น เเหล่งที่มา:http://lightspeed.in.th/smartphone-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-11-23-130

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในครอบครัวของตนเอง

ปัจจบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วช่วยให้ทุกคนสามารถติดต่อ สื่อสาร กันได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ 1.ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ 2.ช่วยให้ทุกคนในครอบครัวที่อยู่ห่างไกลกันได้ติดต่อกันเหมือนอยู่ใกล้กัน ทำให้ครอบครัวสมบูรณ์มีความสุข 3.ใช้ในการสร้างความบันเทิงในครอบครัว และรวมไปถึงการใช้ประโยชน์อื่นๆ ที่แต่ละครอบครัวต้องการจะนำไปใช้ ตามพึงประสงค์

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านต่างๆ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว มีการทำกิจกรรมหลานสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ 1.3.1 ด้านการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน และระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน อ้างอิง http://www.thaigoodview.com/node/80657

Game Online กับการศึกษา

Game Online กับการศึกษา ข้อดีหรือประโยชน์ 1. เพิ่มทักษะและความสามารถในการพิมพ์ดีด สามารถพิมพ์ดีดได้คล่องแคล่วหลังจากเล่นเกม เพราะเกิดจากความคุ้นเคยนั่นเอง 2. ฝึกการวางแผน สำหรับเกมประเภทวางแผน และการวางแผนการเล่นในเกมทั่วๆไป 3. ฝึกการทำงานเป็นทีม และรู้จักแบ่งหน้าที่ เพราะตัวละครแต่ละตัว มีจุดเด่น หรือมีความเก่งกาจ ต่างกันออกไป 4. ฝึกการเข้าสังคม เนื่องจากเกมออนไลน์เป็นเกมที่ต้องเล่นกับผู้อื่น จึงต้องมีการปรับตัว มีการทักทาย เพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ 5. ฝึกปฏิบัติตนตามกฎกติกาของสังคม ทุกเกม มีกฎกติกามารยาทเป็นของแต่ละเกม ถ้าจะมองให้ดี มีทั้งกฎที่เป็นเหมือนกฎหมายของเกม ที่มา: http://www.gamer-gate.net

FTp (file transfer protocol)

FTp (file transfer protocol) คือ เอฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (อังกฤษ: FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/

E-Mail

E-Mail ย่อมาจาก EIectronic-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet )การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า E-mail Address เป็นหลักในการรับส่ง แต่ถ้าในกรณีที่เป็นการส่งอีเมล หรือข้อความโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ เราเรียกว่า Spam และเรียก อีเมลนั้นว่าเป็น spam mail ประโยชน์ของ E-Mail 1.รวดเร็ว เชื่อถือได้ 2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง และลดการใช้กระดาษ 3.ลดเวลาในการส่งเอกสารลง เพราะผู้ส่งไม่ต้องเสียเวลาไปส่งเอง หรือรอไปรษณีย์ไปส่งให้ 4.ผู้ส่งสามารถส่งเอกสารได้ตลอดไม่จำกัดเวลา หรือระยะทางในการส่ง ในขณะที่ผู้อ่านก็สามารถเปิดอ่านเอกสารได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน 5.สามารถส่งต่อกันได้สะดวก และผู้ส่งสามารถส่งให้ผู้รับได้พร้อมๆกันหลายคนในเวลาเดียวกัน อ้างอิงจาก http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2029-e-mail-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

บริการต่างๆของ Google

บริการต่างๆของ Google Gmail http://www.gmail.com/ Blogger http://www.blogger.com/ Froogle http://www.froogle.com/ Hello http://www.hello.com/ Orkut http://www.orkut.com/ Picasa http://picasa.google.com/ SketchUp http://www.sketchup.com/ Writely http://www.writely.com/ Google AdWords https://adwords.google.com/select/ Google AdSense https://www.google.com/adsense/ Google Analytics http://google.com/analytics/ Google Answers http://answers.google.com/ Google Base http://base.google.com/ Google Blog Search http://blogsearch.google.com/ Google Bookmarks http://www.google.com/bookmarks/ Google Books Search http://books.google.com/ Google Calendar http://google.com/calendar/ Google Catalogs http://catalogs.google.com/ Google Code http://code.google.com/ Google Deskbar http://deskbar.google.com/ Google Desktop http://desktop.google.com/ Google Directory http://www.google.com/dirhp Google Earth http://earth.google.com/ Google Finance http://finance.google.com/ Google Groups http://groups.google.com/ Google Images http://images.google.com/ Google Labs http://labs.google.com/ Google Local http://local.google.com/ Google Maps http://maps.google.com/ Google Mars http://www.google.com/mars/ Google Mobile http://mobile.google.com/ Google Moon http://moon.google.com/ Google Movies http://www.google.com/movies Google Music http://www.google.com/musicsearch Google News http://news.google.com/ Google Pack http://pack.google.com/ Google Page Creator http://pages.google.com/ Google Personalized Home http://www.google.com/ig Google Personalized Search http://labs.google.com/personalized Google Reader http://www.google.com/reader Google Scholar http://scholar.google.com/ Google Search History http://www.google.com/searchhistory Google SMS http://www.google.com/sms/ Google Suggest http://www.google.com/webhp?complete=1 Google Talk http://talk.google.com/ Google Toolbar http://toolbar.google.com/ Google Transit Trip Planner http://www.google.com/transit Google Translate http://www.google.com/translate_t Google Video http://video.google.com/ Google Web Accelerator http://webaccelerator.google.com/ Google Web API http://www.google.com/apis/ Google Web Search http://www.google.com/ FUN GOOGLE SERVICES Pigeon Rank http://www.google.com/technology/pigeonrank.html Mentalplex http://www.google.com/mentalplex/ Moonbase Google http://www.google.com/jobs/lunar_job.html Google Gulp http://www.google.com/googlegulp/ Google Romance http://www.google.com/romance/ Other Google Sitemaps https://www.google.com/webmasters/sitemaps/ Google Holiday Logos http://www.google.com/intl/en/holidaylogos.html Google Zeitgeist http://www.google.com/press/intl-zeitgeist.html Google Jobs http://www.google.com/intl/en/jobs/ Google University http://www.google.com/options/universities.html Blog for services Google Code http://code.google.com/ Official Google Blog http://googleblog.blogspot.com/ Adwords API http://adwordsapi.blogspot.com/ Blogger Buzz http://buzz.blogger.com/ Google Base http://googlebase.blogspot.com/ Google Enterprise http://googleenterprise.blogspot.com/ Google Maps API http://googlemapsapi.blogspot.com/ Google Reader http://googlereader.blogspot.com/ Google Research http://googleresearch.blogspot.com/ Google Talk http://googletalk.blogspot.com/ Google Video http://googlevideo.blogspot.com/ Inside AdSense http://adsense.blogspot.com/ Inside AdWords http://adwords.blogspot.com/ Inside Desktop http://googledesktop.blogspot.com/ Inside Sitemap http://sitemaps.blogspot.com/ อ้างอิงจาก http://www.oknation.net/blog/worawut/2010/01/30/entry-1

เทคโนโลยี 3G

เทคโนโลยี 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 ยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยี ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน ใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman,กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต อ้างอิงจาก http://www.moe.go.th/moe/th/blog/view-blog.php?memberid=158&blogid=146

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของข้อมูลสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรม ชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูลอยู่ในรูปของ ตัวเลขตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศ จะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลายๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วนคือ 1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า 2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูล จัดกระทำข้อมูล เพื่อ ให้เหมาะสมต่อการนำไปใช้ 3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และ สามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน 4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผล ผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร เป็นต้น 5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้อง ตรงกับความต้อง การใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน การผลิตสารสนเทศจากข้อมูล การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้ 1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การ ทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้ 2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ 2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล 2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน 2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์ 3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน 4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร 5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย 6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว 7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ 8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ 9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ ลักษณะของสารสนเทศที่ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง 2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน 3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ที่มา: http://blog.eduzones.com/noknik15clab/33086

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ความหมายของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) Information and Communication Technology แปลว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึง คอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ความ หมายตามที่ให้ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2545-2549) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความจำเป็น ต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ “กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร-Ministry of Information and Communication Technology” หรือกระทรวงไอซีที-ICT เทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) , ไอ ที (IT) หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อ สาร (information and communications technology) , ไอซีที (ICT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผล สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และค้นคืนสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ เทคโนโลยีเหล่านี้มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ (hardware) ส่วนคำสั่ง (software) และส่วนข้อมูล (data) และ ระบบการสื่อสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ระบบสื่อสารข้อมูล ดาวเทียมหรือเครื่องมือสื่อสารใด ๆ ทั้งมีสายและไร้สาย (ครูนายู ลา : 2008) จากความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกผ่านกระบวนการต่างๆกลั่นกรองมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่ การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่ ที่มา: http://blogcomsa403.wordpress.com/2011/06/03/1-1-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5-%E0%B8%AA/

ความหมายของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) Notbook Tablet smatphone